COVID-19 Updates: Click here
จำครั้งสุดท้ายที่คุณไปพบแพทย์เพื่อปรึกษาปัญหาด้านสุขภาพจิตได้หรือไม่? คุณให้ความสำคัญกับสุขภาพจิตเท่ากับกับสุขภาพกายของคุณไหม? ในตำราเวทอินเดียกล่าวว่า “จิตใจคือเพื่อนที่ดีที่สุดของคุณและคือศัตรูที่เลวร้ายที่สุดของคุณเช่นกัน” และนี่คือเหตุผลว่าทำไมสมรรถภาพทางจิตของคุณจึงมีความสำคัญไม่แพ้สมรรถภาพทางกาย
สมรรถภาพทางจิตคือการที่จิตใจมีความแข็งแรง ซึ่งประกอบสร้างขึ้นด้วยความสุขและความพึงพอใจ ความสมดุลทางอารมณ์ และความเห็นอกเห็นใจ โดยสิ่งสำคัญข้อหนึ่งที่ส่งผลให้เรามีสมรรถภาพทางจิตที่ดีคือการที่เราหมั่นฝึกฝนการดูแลตนเองอย่างสม่ำเสมอและตระหนักรับรู้ถึงสภาวะปัจจุบัน
สิ่งแรกที่คนส่วนใหญ่มักนึกถึงเมื่อได้ยินคำว่าฟิตเนสหรือสมรรถภาพคือ การออกกำลังกาย การรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ การดื่มน้ำให้เพียงพอต่อวัน การบริโภคผักและกากใยให้มากขึ้น และอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งไม่อาจปฏิเสธได้ว่าสิ่งที่กล่าวมาข้างต้นมีความสำคัญในการผลักดันสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง อย่างไรก็ตามการมีสุขภาพจิตที่ดีก็มีความสำคัญในการก้าวเข้าสู่การมีวิถีชีวิตทั้งในเรื่องความสุขและการมีสุขภาพที่ดีในองค์กรรวม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลานี้ที่ทุกท่านต้องเผชิญกับวิกฤตโรคระบาดใหม่ สมรรถภาพทางจิตจึงมีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าสมรรถภาพทางกายในการต่อสู่กับความเครียดและความเปลี่ยนแปลง
สุขภาพกายและใจมีความเชื่อมโยงกันอย่างมีนัยยะสำคัญ สังเกตุได้จากผลกระทบต่อสิ่งหนึ่งเมื่อสิ่งหนึ่งเกิดความเปลี่ยนแปลง เช่น การออกกำลังกายสร้างผลกระทบในเชิงบวกต่อจิตใจและช่วยเพิ่มสมดุลให้แก่อารมณ์ของเรา แต่ถึงอย่างนั้น การมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงก็ไม่ได้หมายความถึงการมีสุขภาพจิตที่ดีไปด้วย
ความเจ็บป่วยทางจิตมีสาเหตุหลักมาจากความเหนื่อยล้าและความเครียด โดยเฉพาะความเหนื่อยล้าและความเครียดเรื้อรังที่สามารถนำไปสู่การเสื่อมสมรรถภาพทางร่างกายได้อย่างง่ายดาย ดังนั้นคนที่ทุกข์ทรมานจากความเจ็บป่วยทางกายเรื้อรังมักจะประสบความปวดร้าวทางจิตใจมากกว่าคนที่มีสุขภาพดี มากไปกว่านั้น การมีสุขภาพร่างกายที่ย่ำแย่ยังเพิ่มแนวโน้มในการเป็นโรคซึมเศร้าได้ เช่นเดียวกับปัญหาทางสังคมและความสัมพันธ์ ซึ่งพบได้บ่อยในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงเรื้อรังเหล่านี้
คนที่ขาดสมรรถภาพทางจิตมักจะพบกับสภาวะที่ตนไม่สามารถจดจ่อกับงานธรรมดาๆ หรืองานง่ายๆ ได้อย่างเคย รู้สึกถึงความว่างเปล่าในชีวิต รู้สึกไม่มีความหมายและไร้จุดหมายปลายทาง มักมีความวิตกกังวลทางสังคม ไม่ต้องการเข้าสังคมที่มีคนแวดล้อมมากมาย หรือแม้กระทั่งโต้ตอบกับผู้อื่น ขาดความมั่นใจ จนพัฒนาไปสู่การเกิดความวิตกกังวลอย่างมหาศาลแม้จะอยู่คนเดียว
“There is enough on earth for everybody’s need, but not enough for everybody’s greed” คำกล่าวร่วมสมัยของ Mahatma Gandhi ที่ยังคงหยิบยกมาใช้เพื่อสะท้อนความคิดได้อยู่เสมอ
การแข่งขันเยี่ยงหนูปั่นจักร การตัดขาดจากตัวเองและโลกภายนอก ขาดการตระหนักรู้ในตนเอง ปัญหาชีวิตคู่ และประสบการณ์ทางอารมณ์ที่ไม่ได้รับการแก้ไข เหล่านี้คือเหตุผลสำคัญที่ก่อให้เกิดการเสื่อมสมรรถภาพทางจิต แต่มักถูกมองข้ามหรือคนส่วนใหญ่ไม่เคยทราบว่าเป็นสาเหตุหลักที่แท้จริง
จิตใต้สำนึกเป็นเสมือนคลังเก็บประสบการณ์ทุกอย่างที่คุณเคยพบมาตลอดชีวิต ไม่ว่าคุณจะรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม ประสบการณ์ที่เก็บไว้ในจิตใต้สำนึกของคุณจะติดตามคุณไปตลอดชีวิต ดังนั้นเพื่อให้มีชีวิตที่ยืนยาวและมีสุขภาพจิตที่ดี เราจึงจำเป็นที่ต้องชะล้างประสบการณ์ทางอารมณ์ที่ยังไม่ได้รับการแก้ไขออกไปจากจิตใจเพื่อให้ก้าวต่อไปข้างหน้าได้
พาครอบครัวไปใกล้ชิดกับธรรมชาติ เช่น การเดินเล่นในสวนสาธารณะ หรือ สร้างความใกล้ชิดกับคนรอบตัวมากขึ้น โดยอาจเริ่มจากการลองเดินไปที่โต๊ะของเพื่อนร่วมงานแทนการส่งอีเมลหรือโทรหากัน ไม่ลังเลที่จะขอความช่วยเหลือจากเพื่อนและครอบครัวเมื่อจำเป็น และเมื่อได้ที่จิตใจรู้สึกถึงความทุกข์เศร้า ให้ลองจดบันทึกความคิดของคุณลงบนกระดาษเพื่อปลดปล่อยอารมณ์ที่ไม่ต้องการออกจากจิตใจ ทั้งหมดข้างต้นคือแนวทางเพื่อก้าวสู่การมีสมรรถภาพจิตที่ดีขั้นต้น ที่สามารถนำไปใช้เพื่อรักษาและสมดุลจิตใจให้แข็งแรงได้ในชีวิตประจำวันโดยเริ่มต้นด้วยตัวคุณเอง เพื่อสร้างรากฐานที่แข็งแกร่งของการยอมรับและการตระหนักรู้ถึงการมีอยู่ เจตคติแง่บวก การรู้สึกขอบคุณและการยอมรับตนเอง
ที่ รักษ เราให้ความสำคัญกับปัญหาสุขภาพจิตที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ดังนั้นเราจึงร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญในการสร้างการบำบัดเพื่อยกระดับสุขภาพจิตและอารมณ์ ซึ่งศาสตร์อายุรเวทถือเป็นหนึ่งในการบำบัดแบบองค์รวมที่เรามี ควบคู่ไปกับ Mindfulness meditation, Pranayama, Mano Maya, Singing Bowl, และ Indian Healing Hands Therapy